ความหมายของนิติกรรม

ความหมายของนิติกรรม

มาตรา 149 บัญญัติว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันท่ำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”  จากมาตรา 149 สามารถแยกองค์ประกอบของนิติกรรมออกได้เป็น 5 ประการ ดังนี้

1.  เป็นการกระทำของบุคคลด้วยการแสดงเจตนา  กล่าวคือ ต้องเกิดจากความคิด การตัดสินใจและการกระทำเพื่อแสดงให้เห็นความต้องการตามที่ตัดสินใจ โดยในขณะกระทำต้องรู้สำนึกในการกระทำ  อันเป็นการก่อให้เกิดการแสดงเจตนา(declaration of intention

2.  การกระทำนั้นจะต้องทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การกระทำที่ชอบด้วย กฎหมายอันเกี่ยวกับความสามารถในการ “มีสิทธิ” ของผู้กระทำอันเกี่ยวกับเรื่องวัตถุประสงค์ของนิติกรรม หรือแบบของนิติกรรม หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายในเรื่องความสงบเรียบร้อย
  • ต้องเป็นการกระทำที่มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล โดยจะต้องไม่มีเจตนาซ่อนเร้น เจตนาลวง หรือนิติกรรมอำพราง
  • นิติกรรมนั้นจะต้องกระทำลงด้วยใจสมัคร กล่าวคือ จะต้องกระทำนิติกรรมไปด้วยการ ตัดสินใจของตนเองโดยไม่มีการสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือมีการข่มขู่
  • นิติกรรมนั้นจะต้องมีความประสงค์ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ 5 ประการ คือ ก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ กล่าวคือ
 5.1  การก่อให้เกิดสิทธิ  ซึ่งในขณะทำนิติกรรมนั้นยังไม่มีสิทธิไดๆ เกิดขึ้นเลย เช่น นาย แดง ขาย
โทรศัพท์มือให้แก่นายดำ ในราคา 3,000 บาท นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ “ก่อให้เกิดสิทธิ” แก่นายแดงที่จะเรียกให้นายดำ ชำระราคา 3,000 บาท ในขณะเดียวกันนิติกรรมดังกล่าวก็ “ก่อให้เกิดสิทธิ” แก่นายดำในการที่จะเรียกให้นายแดงส่งมอบโทรศัพท์มือถือได้เช่นเดียวกัน

5.2  เปลี่ยนแปลงสิทธิ  ซึ่งในขณะทำนิติกรรมต้องมีสิทธิเกิดขึ้นแล้ว แต่ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง จากสิทธิอย่างหนึ่งเป็นสิทธิอีกอย่างหนึ่ง เช่น นายแดง กู้ยืมเงินนายดำ จำนวน 200 บาท โดยตกลงว่าจะชำระกันเป็นเงินสด  ต่อมาได้ตกลงแปลงหนี้กันใหม่ โดยจะชำระเป็นข้าวสาร 2 กระสอบแทน การตกลงดังกล่าวจึงเป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงสิทธิ

5.3 โอนสิทธิ ในการที่ผู้ไดจะโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้นั้นผู้โอนจะต้องมีสิทธิอยู่แล้วในขณะโอนสิทธินั้น เช่น จากตัวอย่างในข้อ 2) เมื่อนายแดง มีสิทธิเรียกร้องให้นายดำ ชำระหนี้ แต่นายแดงได้โอนสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินดังกล่าวให้กับนายขาว สิทธิของนายแดงจึงถูกโอนไปยังนายขาวแล้วตามนิติกรรมการโอนสิทธิ

5.4 สงวนสิทธิ เป็นกรณีที่ผู้สงวนสิทธิมีสิทธินั้นอยู่แล้วเพียงแต่ต้องการที่จะให้สิทธินั้นมีความมั่นคงขึ้น เช่น นายแดงกู้ยืมเงินนายดำ 5,000 บาท ต่อมาได้ทำสัญญารับนายขาว มาเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของนายแดงดังกล่าว เช่นนี้เป็นนิติกรรมสงวนสิทธิของนายดำแล้ว

5.5  ระงับสิทธิ  เป็นกรณีที่จะต้องมีสิทธิอยู่แล้วเพราะถ้ายังไม่มีสิทธิก็ไม่มีอะไรที่ต้องระงับ เช่น การที่เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้กับลูกหนี้  การบอกเลิกสัญญา การบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น