โมฆะกรรม

8. โมฆะกรรม

มาตรา 172 บัญญัติว่า “โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้...”

โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำ หรือการแสดงเจตนาที่เสียเปล่า ไม่มีผลในกฎหมายที่จะเป็นนิติกรรมผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กล่าวคือ ไม่ทำให้บุคคลใด หรือสิ่งใดเปลี่ยนแปลงฐานะไป  คู่กรณียังคงอยู่ในฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้เข้าทำนิติกรรมแต่ประการใดเลย และการเสียเปล่าของนิติกรรมนี้มีมาแต่แรกเริ่มทำนิติกรรม  เช่น แดง ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากดำ แต่ในสัญญาไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ ดั้งนั้น แดง จึงฟ้องดำ เพื่อเรียกค่าเสียหายจากการที่ดำ ผิดสัญญาไม่ได้ เพราะเป็นการยกเอาความเสียเปล่าของนิติกรรมซึ่งเป็นโมฆะมาแต่แรกขึ้นอ้าง หรือ เช่นกรณีสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจบังคับกันได้ตามกฎหมาย คือถือว่าไม่มีสัญญาเกิดขึ้นเลย
    เมื่อนิติกรรมไดไม่มีผลในทางกฎหมายแล้ว จึงเท่ากับว่าไม่ได้มีการทำนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นเลยและบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย จะยกเอาความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ไม่ได้  เช่น นายแดง กู้ยืมเงินนายดำ จำนวน 100,000 บาท เพื่อไปซื้อยาบ้า  ในการกู้ยืมเงินครั้งนี้มีนายขาว เป็นผู้ค้ำประกัน และมีนายฟ้านำที่ดินมาจำนองเป็นประกันการกู้เงิน จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าการกู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อยาบ้าจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะ  ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดจะอ้างอิงเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ไม่ได้ จากตัวอย่าง ถ้านายดำไม่ยอมชำระคืนเงินให้แก่นายแดง นายแดงจะไปฟ้องร้องนายดำ หรือฟ้องร้องผู้ค้ำประกัน หรือไปฟ้องบังคับจำนองต่อทรัพย์ของนายฟ้า  ไม่ได้ทั้งสิ้นเพราะถือว่าจะยกเอาความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างไม่ได้

1 ความคิดเห็น: