เงื่อนไข และเงื่อนเวลา
เงื่อนไข และเงื่อนเวลา
เงื่อนไข
และเงื่อนเวลาถือเป็นองค์ประกอบเสริมที่ไม่จำเป็นต้องมีนิติกรรมนั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์
เพียงแต่นิติกรรมนั้นยังไม่เกิดผล ถ้านิติกรรมที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อน
หรือนิติกรรมนั้นจะมีผลบังคับอยู่ได้แต่เพียงชั่วคราวถ้านิติกรรมนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับหลัง
หรือในเรื่องของเงื่อนเวลาก็เช่นเดียวกันก็มีผลต่อการเกิดหรือ
การสิ้นผลของนิติกรรมเช่นเดียวกัน
แต่ไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ในการเกิดขึ้นของนิติกรรมนั้นแต่อย่างได
9.1
เงื่อนไข
มาตรา 183
บัญญัติว่า “ นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน
นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง
นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว...”
เงื่อนไข หมายถึง เหตุการณ์การในอนาคตที่ไม่แน่นอน
ซึ่งผู้ทำนิติกรรมจะกำหนดถึงความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรมโดยอาศัยเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่
เงื่อนไขมี 2 ประเภท
1) เงื่อนไขบังคับก่อน
เป็นการนำเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนมากำหนดถึงความเป็นผลของนิติกรรม
โดยนิติกรรมจะมีผลตั้งแต่เมื่อเวลาที่เงื่อนไขสำเร็จ เช่น แดง
ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับดำ ในวันที่ 1 มกราคม 2546 โดยมีเงื่อนไขว่า
จะให้นิติกรรมการซื้อขายรถยนต์เป็นผลต่อเมื่อแดงขายจักรยานของตนได้เสียก่อน เช่นนี้
เป็นกรณีที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน
สัญญาจะเกิดเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ(คือแดงขายจักรยานได้)
2) เงื่อนไขบังคับหลัง หมายถึง
เป็นการนำเอาเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนมากำหนดถึงความสิ้นผลของนิติกรรม
ซึ่งนิติกรรมจะสิ้นผลนับแต่เวลาที่เงื่อนไขสำเร็จ เช่น แดง เช่าบ้านของ ดำ
โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าลูกของแดงกลับมาจากต่างประเทศเมื่อไดสัญญาเป็นอันสิ้นสุด
9.2 เงื่อนเวลา
มาตรา 191 บัญญัติว่า
“นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้
ห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงกำหนดเวลา
นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้
นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลเมื่อถึงกำหนดเวลา”
เงื่อนเวลา หมายถึง
จุดช่วงเวลาที่มีการเริ่มต้น หรือการสิ้นสุดความเป็นผลของนิติ-กรรม อันมีลักษณะที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอน
ซึ่งผู้ทำนิติกรรมได้กำหนดเกี่ยวกับการเริ่มต้นความเป็นผลของ
หรือการสิ้นสุดความเป็นผลของนิติกรรม
เงื่อนเวลา มี 2 ประเภท
1) เงื่อนเวลาเริ่มต้น
เป็นกรณีที่นิติกรรมได้เกิดขึ้นมาแล้วในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น
เพียงแต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาเริ่มต้นที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนจะทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรมนั้นยังไม่ได้
เช่น ยืมรถยนต์เพื่อนไปขับ 3 วัน ดังนั้นก่อนครบกำหนด 3 วัน
เพื่อนจะมาเรียกรถยนต์คืนไม่ได้
2)
เงื่อนเวลาสิ้นสุด
เป็นการนำเหตุการณ์ในอนาคตที่แน่นอนมากำหนดความสิ้นผลของนิติกรรม เช่น
ทำสัญญาเช่าห้องพักเป็นเวลา 3 เดือน ดังนี้นับแต่สัญญาเช่าเกิดผลแล้ว พอครบกำหนด 3
เดือนสัญญาเช่าก็สิ้นผลลง
ขอบคุณครับ
ตอบลบ