มาตรา 159 บัญญัติว่า
“การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะการถูกฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง
จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว
การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก
การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้
หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น”
กลฉ้อฉล (fraud) หมายถึง
การแสดงข้อความอย่างใดให้ผิดต่อความเป็นจริงเพื่อหลอกลวงให้เขาหลงเชื่อการแสดงเจตนานั้น
เพื่อประสงค์ประโยชน์อันไม่ควรได้ในส่วนของตน สำหรับการหลอกลวงนั้นอาจกระทำด้วยประการใดๆ
ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงด้วยวาจา ลายลักอักษร กิริยาท่าทาง
หรือการหลอกลวงในลักษณะอื่นๆ เช่น นายแดง ต้องการซื้อพระสมเด็จวัดระฆังของแท้
เพื่อเป็นของขวัญวันเกิดพ่อ นายดำ
ซึ่งเป็นเซียนพระได้นำพระสมเด็จองค์หนึ่งซึ่งเป็นของปลอมมาขายให้นายแดง
โดยหลอกว่าเป็นพระสมเด็จของแท้ นายแดงหลงเชื่อจึงซื้อพระสมเด็จดังกล่าว
การซื้อพระสมเด็จดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เพราะถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวถึงขนาด
การอันเป็นโมฆียะนั้นก็คงจะมิได้เกิดขึ้น หรือ นายแดง หลอกลวงนายดำ
ว่าม้าของตนเป็นม้าแข่งฝีเท้าดี เพื่อจะให้ได้ราคาสูงๆ
แต่ความจริงม้าตัวนั้นเป็นม้าที่บาดเจ็บไม่อาจวิ่งได้อีกต่อไป เช่นนี้ นายดำ
ย่อมบอกเลิกนิติกรรมอันมีผลเป็นโมฆียะเพราะเหตุ ฉ้อฉลอันของนายแดงได้
การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก หมายความว่า
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่เป็นคู่กรณีในการทำนิติกรรมได้ทำการหลอกลวงบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง
จนคู่กรณีฝ่ายนั้นหลงชื่อตามที่ถูกหลอกลวง
และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นนั้นขึ้น
โดยหลักแล้วนิติกรรมนั้นจะมีผลเป็นโมฆียะ เว้นแต่ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
(ฝ่ายที่มิใช่ถูกฉ้อฉล) ได้รู้ หรือควรจะรู้ถึงกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอกนั้นก่อน
หรือในขณะทำแสดงเจตนาทำนิติกรรม เช่น แดง
เสนอขายแหวนเพชรวงหนึ่งให้แก่ ดำ ในราคา 100,000 บาท ในขณะที่ ดำ
พิจารณาดูแหวนอยู่ เขียว ได้เข้ามาดูแหวนเพชรด้วย แล้วพูดว่า
“เป็นเพชรแท้มีเนื้องามมากไม่มีตำหนิ” ซึ่งแดงรู้ดีว่า
เขียวพูดจาหลอกเพื่อประสงค์จะให้ดำซื้อแหวนของแดง
จนดำหลงเชื่อซื้อแหวนวงดังกล่าวจากแดง ต่อมาอีก 3
วันดำได้เอาไปให้ร้านเพชรดูจึงรู้ว่าเพชรดังกล่าวมีตำหนิ มีรอยขูดขีด และน้ำไม่งาม
เช่นนี้ สัญญาซื้อขายแหวนเพชรดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลโดยเขียวซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
และ แดงก็ได้รู้ถึงกลฉ้อฉลด้วย นิติกรรมซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ
ดำมีสิทธิบอกล้างได้
7. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
มาตรา 164 บัญญัติว่า
“การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น
จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง
และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น
การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น”
การข่มขู่ หมายถึง การกระทำให้เกิดความเกรงกลัว
ไม่ว่าจะข่มขู่โดยวิธีใด ให้ผู้ถูกข่มขู่เกิดความกลัวว่าจะเกิดภัยขึ้นแก่ตน
จนต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมนั้นไปตามที่ถูกข่มขู่ สำหรับวิธีการข่มขู่นั้นอาจทำได้ในโดยทางวาจา
หรือโดยทางลายลักอักษร หรือโดยกิริยาอาการที่เป็นการข่มขู่
ทั้งการข่มขู่นั้นอาจขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ถึงแก่บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต เช่น แดง
ต้องการจะซื้อที่ดินของ ดำ ซึ่งอยู่ริมชายหาด แต่ดำไม่ยอมขายให้
แดงจึงกล่าวว่าหากไม่ขายจะฆ่าดำเสีย เช่นนี้นิติกรรมการซื้อที่ดินก็ตกเป็นโมฆียะ
การกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามกฎหมาย
1)
การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม หมายถึง
การขู่โดยผู้ข่มขู่นั้นมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมายที่จะให้ผู้ถูกข่มขู่ทำนิติกรรม
โดยผู้ข่มขู่เชื่อโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิที่จะทำได้ เช่น แดง ขู่ดำว่าถ้า
ดำไม่ชำระเงินที่กู้คืน
แดงจะฟ้องคดีต่อศาลและเชื่อโดยสุจริตใจว่าตนจะต้องเป็นผู้ชนะคดี
เช่นนี้ถือว่าเป็นการขู่ว่าจะสิทธิตามปกตินิยม
2)
การกระทำเพราะนับถือยำเกรง หมายถึง
การกระทำที่เกิดจากความเคารพนับถือตามธรรมเนียม หรือประเพณี
ซึ่งโดยสภาพมิใช่การข่มขู่ เช่น
การทำนิติกรรมของลูกเพราะความเกรงใจต่อพ่อแม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น