โมฆียกรรม

9. โมฆียกรรม

โมฆียกรรม  (viodable)  หมายถึง การแสดงเจตนาทำนิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลในกฎหมายผูกพันกันได้ แต่เป็นนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ อาจถูกบอกล้างทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ  หรืออาจได้รับการให้สัตยาบันทำให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ได้
สำหรับสาเหตุที่นิติกรรมเป็นโมฆียะนั้นประกอบไปด้วยเหตุแห่งการแสดงเจตนาที่วิปริตที่สำคัญๆ  ดังนี้
  1. การแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่
  2. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ
  3. การแสดงเจตนาโดยบกพร่องในเรื่องความสามารถ เช่น ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต
  4. การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล
การบอกล้างโมฆียกรรม หมายถึง การแสดงเจตนาปฏิเสธหรือทำลายนิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรมนั้นให้เสียไป (ซึ่งนิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่ในขณะนั้น) ให้มีผลเป็นโมฆะย้อนหลังไปถึงเวลาเริ่มต้นทำนิติกรรมนั้นและคู่กรณีก็จะกลับคืนสู่ฐานะเดิมและถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกลับคืนสู่ฐานะนั้นได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดเชยส่วนวิธีการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ดังนั้นแม้นิติกรรมที่โมฆียะจะเป็นนิติกรรมที่มีแบบ เช่น กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ หรือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  หรือนิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียว  การบอกล้างนิติกรรมนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำเป็นหนังสือด้วย การบอกล้างอาจทำด้วยวาจา หรือทำเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องบอกล้างเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้

การให้สัตยาบัน หมายถึง การเห็นชอบด้วยกับนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็นโมฆียะและได้รับรองผลของนิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรมให้มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี  เช่น เด็กหญิงแดงผู้เยาว์ ไปทำนิติกรรมซื้อที่ดินจากนายดำ ราคา 100,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายขาว  ผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นย่อมมีผลเป็นโมฆียะ  เมื่อนายขาว ทราบเรื่องได้พิจารณาดูแล้วเห็นว่าการทำนิติกรรมซื้อที่ดินดังกล่าวผู้เยาว์ไม่ได้ถูกเอาเปรียบแต่อย่างได  นายขาวก็อาจให้สัตยาบันโดยปากเปล่า หรือทำเป็นหนังสือไปยังนายดำ เพื่อให้สัญญามีผลบังคับกันได้ตลอดไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น